Search
Close this search box.
  • Version
  • ดาวน์โหลด
  • ขนาดไฟล์ 0.00 KB
  • จำนวนไฟล์ 0
  • วันที่สร้าง สิงหาคม 27, 2024
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด สิงหาคม 27, 2024

กรมควบคุมโรค ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน) และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

กรมควบคุมโรค เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในการพัฒนานวัตกรรมและการขยายผลการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน) และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ในประเด็นการรักษาการป้องกันโรคเบาหวาน ยกระดับและขยายผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย รวมถึงพัฒนานวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีความคุ้มค่าและคุ้มทุน โดยมีนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ณ ห้องประชุมประเมินจันทวิมล อาคาร 1 ชั้น 1 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันนี้ (27 สิงหาคม 2567) นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการขับเคลื่อนในหลายมิติ ทั้งในเชิงนโยบาย   การจัดการ และการปฏิบัติการ เพื่อให้งานขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือจากเครือข่ายที่มีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกันนับเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ ประกอบกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่มีการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ทั้งในระดับนโยบาย การจัดการ และการปฏิบัติการ กรมควบคุมโรคมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานจะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืน และเข้มแข็งต่อไป

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต่อว่า ตามรายงานสถิติสาธารณสุขจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 300,000 คนต่อปี ดังนั้นความร่วมมือในวันนี้ถือเป็นความร่วมมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวาน การยกระดับและขยายผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีความคุ้มค่า และเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมความร่วมมือที่จะดำเนินภายใต้ MOU นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับและขยายผล การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีประสิทธิภาพ ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย และพัฒนานวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีความคุ้มค่าและคุ้มทุน โดยร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน วิจัยและพัฒนาบุคลากรทางสาธารณสุขให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาโรคเบาหวาน และตกลงให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน พร้อมทั้งสนับสนุนด้านคำปรึกษา ด้านวิชาการหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกับการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้

****************************

ข้อมูลจาก : กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

วันที่ 27 สิงหาคม 2567

 

Attached Files

แชร์เลย / Share