Search
Close this search box.

กรมควบคุมโรค ร่วมกับ จังหวัดสงขลา และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เตรียมความพร้อมรับมือโรคพิษสุนัขบ้าพื้นที่ด่านพรมแดน

เมื่อวันที่ (30 มกราคม 2567) ที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดี กรมควบคุมโรค พร้อมด้วย นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา  สัตวแพทย์หญิง ดร.เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ  นายแพทย์โรม บัวทอง ผู้อำนวยการกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค  เจ้าหน้าที่ส่วนกลางจากกองโรคติดต่อทั่วไป  กองระบาดวิทยา  และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จากจังหวัดสงขลาและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย กว่า 100 คน ร่วมประชุมหารือตามสถานการณ์สมมติเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ด่านพรมแดนสะเดา และด่านพรมแดนรัฐเคดาห์ ระหว่างวันที่  30-31 มกราคม 2567

นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค เป็นเจ้าภาพจัดหารือร่วมกันระหว่างจังหวัดสงขลาและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อวิเคราะห์และประเมินภัยคุกคามระหว่างพรมแดน เห็นพ้องกำหนดให้การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ต้องทำงานร่วมกันระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมระหว่างสองพรมแดนในวันนี้จะเป็นการสร้างความมั่นคงในการตอบโต้กับการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในอนาคต เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่มีความรุนแรงต่อการเสียชีวิตสูงที่สุด

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสำคัญ โดยพื้นที่เสี่ยงสูงมักพบในบริเวณชายแดนเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของประชากรคนและสัตว์เลี้ยง จึงมีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียเตรียมความพร้อมหากการระบาดขยายเป็นวงกว้าง

สัตวแพทย์หญิง ดร.เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมระหว่างประเทศของสองพรมแดนนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและการป้องกันควบคุมโรคระหว่างประเทศ สามารถเสริมสร้างกลไกการปฏิบัติร่วมกันระหว่างสองประเทศผ่านการจำลองสถานการณ์ โดยเน้นเเนวทางการเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนมาตรการและกลไกการปฏิบัติร่วมกันในการจัดการโรคพิษสุนัขบ้า

การประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อาทิ สำนักงานสาธารณสุขและสำนักงานปศุสัตว์ของรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย หน่วยงานท้องถิ่น ด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านตรวจสัตว์ป่า สาธารณสุข และปศุสัตว์ในพื้นที่ หน่วยงานระดับเขตจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา สำนักงานปศุสัตว์เขต และหน่วยงานส่วนกลาง จากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กองระบาดวิทยา กองโรคติดต่อทั่วไป และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข  ในการร่วมประชุมกลุ่มย่อยเน้นแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละด้านของการป้องกันควบคุมโรค การส่งต่อและการจัดการด้านการแพทย์ การป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ และการจัดการที่ด่านชายแดน ผลการประชุมในครั้งนี้ จะนำไปพัฒนาแนวทางการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างด่านสะเดาและด่าน Bukit Kayu Hitam เพื่อตอบโต้โรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงพัฒนาแนวทาง การดำเนินงานจัดการโรคและภัยสุขภาพอื่นๆ ที่ยังเป็นความท้าทายระหว่างการทำงานของสองพรมแดน

 

*********************************

ข้อมูลจาก : สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ/สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค

วันที่ 31 มกราคม 2567

 

Department of Disease Control, Songkhla Province, and Kedah State of Malaysia prepare for rabies response at border checkpoints

On January 30, 2024, the Department of Disease Control (DDC), Songkhla Province, Thailand and Kedah State of Malaysia collaborated together to tackle the threat of rabies at the Sadao and Kedah border checkpoints. The meeting convened over 100 experts and officials from both regions, to strategize and prepare for potential rabies outbreaks.

Deputy Director-General of the Department of Disease Control's, Dr. Apichart Vachiraphan, emphasized the importance of bilateral cooperation in combating rabies, a deadly disease that impacts both animals and humans. This sentiment was echoed by Dr. Chalermpol Osotpromma, the Director of the Office of Disease Prevention and Control, Region 12 Songkhla, who highlighted the importance of information sharing, particularly in high-risk border areas.

Dr. Soawapak Hinjoy, Director of the Office of International Cooperation, outlined the significance of this cross-border meeting in bolstering international disease preparedness. She stressed the necessity of a robust system for exchanging information and coordinating actions in managing rabies.

A multisectoral approach was applied to the meeting, with participation from various sectors including public health, livestock management, customs, immigration, wildlife, point of entries, and the Thailand MOPH - U.S.CDC Collaboration. The focus was on multifaceted strategies that encompass disease prevention, medical management, animal health, and border control.

This meeting provided valuable input for the development of guidelines for information exchange between Songkhla and Kedah, specifically at the Sadao and Bukit Kayu Hitam checkpoints. The formulation of operational protocols for disease management and other health challenges   in border areas are key outcomes to strengthen health security. This joint effort demonstrates Thailand and Malaysia's dedication to safeguarding the health and well-being of their populations, particularly in border areas and ensuring a comprehensive response to the threat of rabies.

Reported by: Office of International Cooperation, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand

แชร์เลย / Share