Search
Close this search box.
  • Version
  • ดาวน์โหลด 111
  • ขนาดไฟล์ 3.10 MB
  • จำนวนไฟล์ 1
  • วันที่สร้าง สิงหาคม 31, 2022
  • วันที่ปรับปรุงล่าสุด กันยายน 9, 2022
  • หน่วยงาน กลุ่มเฝ้าระวังเเละตอบโต้สื่อสารความเสี่ยง

กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 33/2565 "เตือนเฝ้าระวังผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น พบมากในกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี แนะไม่ซื้อยากินเอง กินยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น"

กรมควบคุมโรค ขอเผยแพร่ “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์”

ฉบับที่ 33/2565 ประจำสัปดาห์ที่ 35 (วันที่ 28 ส.ค. – 3 ก.ย. 65)

“จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค รายงานตรวจพบผู้ป่วยดื้อยาต้านจุลชีพตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. –  24 ส.ค. 65 พบผู้ป่วยทั้งหมด 4 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และพบผู้ป่วยระหว่างวันที่ 14 - 27 ส.ค. 65 จำนวน 3 ราย ผู้ป่วยทุกรายมีอายุมากกว่า 65 ปี ทั้งหมดตรวจพบเชื้อภายหลังเข้ารับการรักษา ประมาณ 7 วัน จากรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบเชื้อดื้อยาคือ Enterococcus faecium ดื้อยา Vancomycin (VRE) โดยจากระบบเฝ้าระวังเชื้อแบคทีเรียดื้อยาทางห้องปฏิบัติการ (National Antimicrobial Resistant Surveillance, Thailand: NARST) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 มีแนวโน้มการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance: AMR) ของเชื้อแบคทีเรียเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแนวโน้มอัตราการพบเชื้อ Vancomycin-resistant Enterococcus faecium เพิ่มสูงขึ้น จาก ร้อยละ 0.3 ในปี พ.ศ. 2556   เป็น 5.1 ในปี พ.ศ. 2564”

“การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสพบผู้ป่วยดื้อยาต้านจุลชีพเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการดื้อยามากกว่าโรคติดต่ออื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มักจะได้ยามาหลายขนานแล้ว เชื้อดื้อยาเกิดจากการพัฒนาตนเองของเชื้อเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม เกิดจากการใช้ยามากเกินความจำเป็นหรือได้รับยาไม่ครบตามกำหนด ทำให้เชื้อจุลินทรีย์มีความต้านทานต่อยาได้จึงต้องเปลี่ยนยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและใช้เวลารักษานานมากขึ้น ทำให้กลายเป็นผู้พิการหรือถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมคือ ใช้ยาในกรณีที่จำเป็นเท่านั้นและใช้ยาให้ครบขนาดตามแพทย์สั่ง

กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำให้ดำเนินการตามแนวทางการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพตามมาตรการ  3 หยุด ดังนี้

1) หยุดสร้างเชื้อดื้อยา โดยประชาชนทุกคนใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็น ไม่ซื้อยามารับประทานเองหรือรับประทานยาตามผู้อื่น ควรรับประทานยาตามที่แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์แนะนำเท่านั้น

2) หยุดรับเชื้อดื้อยา เนื่องจากอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในการเพาะเลี้ยงประมง ปศุสัตว์ หรือเกษตรกรรม ที่อาจมียาปฏิชีวนะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นจึงขอส่งเสริมให้ประชาชน ปฏิบัติตนเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น การรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและเมื่อสัมผัสสิ่งปนเปื้อน หลีกเลี่ยงการสัมผัสคน สัตว์ สิ่งแวดล้อมที่มีแบคทีเรียดื้อยา หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรมีการสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายตามความเหมาะสม เช่น ถุงมือ

3) หยุดแพร่เชื้อดื้อยา เช่น การล้างมือให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะผิดวิธี เช่น แกะยาปฏิชีวนะโรยใส่แผล ผสมยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์หรือในการทำเกษตรกรรม เป็นต้นสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422”

*******************************************************

ข้อมูลจาก : ทีม SAT / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

วันที่ 31 สิงหาคม 2565

 

FileAction
พยากรณ์โรครายสัปดาห์ edited 28Aug2022.jpgดาวน์โหลด
แชร์เลย / Share